วัดขนอนหนังใหญ่
วัดขนอน มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์หนังใหญ่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทางวัดได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการนำหนังใหญ่วัดขนอนไปแสดงเผยแพร่ยังที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง ในปี พ.ศ.2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปถัมภกมรดกไทยทรงเห็นคุณค่าในการแสดง และศิลปะหนัง ใหญ่ทรงมีพระราชดำริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์หนังใหญ่ทั้ง 313 ตัว และจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ขึ้น แสดงแทน โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรรับผิดชอบงานช่างจัดทำหนังใหญ่ทั้งหมด ได้นำหนังใหญ่ชุดใหม่ที่สร้างนี้ ทูลเกล้าถวาย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2538 ณ โรงละครแห่งชาติ และทรงพระราชทานให้ทางวัดขนอน นำมาใช้ ในการแสดงต่อไป ปัจจุบันทางวัดได้จัดพิพิธภัณฑ์สถานแสดงนิทรรศการหนังใหญ่ เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจ เข้าร่วมชมศึกษา พร้อมทั้งการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ ตลอดจนการฝึกเยาวชนให้เรียนรู้และสืบทอดศิลป วัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ครบทุกกระบวนการ เพื่อสนองโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จ พระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สืบต่อไป
หนังใหญ่วัดขนอน ได้มีการสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ผู้ริเริ่มในการแกะสลัก ตัวหนังคือ ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (หลวงปู่กล่อม) เกิดปีวอก พ.ศ.2391 มรณภาพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2485รวมอายุได้ 95 ปี ท่านมีความคิดที่จะสร้างหนังใหญ่ให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม จึงได้ชักชวนครูอั๋ง ช่างจาด ช่างจ๊ะ และช่างพ่วง มาร่วมกันสร้าง ชุดแรกที่สร้างคือ ชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกรวม 9 ชุด ปัจจุบันมีตัวหนัง 313 ตัว นับเป็นสมบัติวัดที่ได้ร่วมรักษาสืบทอดกันมาเป็นเพียงวัดเดียวที่มีมหรสพเป็นของวัด มีตัวหนัง และคณะหนัง
ต่อมาคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของยูเนสโกประกาศให้ "การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน" ได้รับรางวัลจาองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) และได้ รับการ ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม โดยเมือวันที่ 8-11 มิถุนายน 2550 องค์กร ACCU (Asia - Pacific Cultural Centre for UNESCO) ได้จัด มอบเหรียญรางวัล เกียรติบัตรและการสัมนาและกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้แทนชุมชนต่าง ๆ ที่ได้ รับรางวัล และบรรดาผู้เชี่ยว ชาญทางวัฒนธรรมและคณะกรรมการของยูเนสโก ณ โรงแรมโตเกียวไดอิชิ เมืองซึรุโอกะ จังหวัดยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติความเป็นของหนังใหญ่วัดขนอน
มหรสพที่เก่าแก่ของไทยนี้ กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่หลักฐานการแสดงหนังใหญ่เริ่มมี สมัยกรุงศรี อยุธยา ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) นับเป็นมหารสพที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ใน สมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐานในการแสดงหนังใหญ่ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) ว่าทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา เพื่อใช้แสดงเพิ่มขึ้นจากเรื่องรามเกียรติ์ สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย (ร.2) มีหลักฐานการสร้างตัวหนังใหญ่และบทวรรณคดีที่ใช้ในเรื่องรามเกียรติ์ ใช้แสดงหนังใหญ่ชุด พระนครไหว ซึ่งต่อ มาได้มีการนำมาเก็บไว้ ณ โรงละครแห่งชาติหลังเก่า แต่ถูกไฟไหม้เกือบหมด สมัยสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) พบการทำหนังใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จ.สิงห์บุรีและ หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรีหนังใหญ่จึงถือได้ว่าเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นการ แสดงชั้นสูงเป็นการแสดงที่ รวมศิลปะที่ทรงคุณค่าหลายแขนง ได้แก่ ด้านศิลปะการออกแบบลวดลายไทยเชิง จิตกรรมที่มีความวิจิตรบรรจงผสม กับฝีมือช่างแกะสลักที่ประณีต เมื่อแสดงก็จะมีการนำศิลปะ ทางนาฏศิลป์ การละคร ที่เคลื่อนไหวได้อารมณ์ตามเนื้อ เรื่อง ประกอบกับบทพากย์ บทเจรจา บทขับร้อง ดนตรีปี่พาทย์ทำให้ เกิด ความเข้าใจในเเรื่องราวและให้อถรรถรสทาง ศิลปะแก่ผู้ชมได้อย่างสมบูรณ์ การแสดงหนังใหญ่จึงมีคุณค่า ทางศิลปะสูง และแสดงถึงอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทย ได้เป็นอย่างดี
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน
ลักษณะเป็นเรือนไทย เก็บรักษาหนังใหญ่ทั้ง 313 ตัว ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นตัวละครเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานถวายแหวน ชุดสหัสสกุมาร และเผากรุงลงกา และชุดศึกอินทรชิตครั้งที่ 1 รวมทั้งจัดนิทรรศการ แสดง ประวัติความเป็นมา การแกะสลักตัวหนังใหญ่ และการแสดงเชิดหนังใหญ่ทุกวันเสาร์ เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.30 น.เปิดให้ชมการแสดง
ลักษณะเป็นเรือนไทย เก็บรักษาหนังใหญ่ทั้ง 313 ตัว ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นตัวละครเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานถวายแหวน ชุดสหัสสกุมาร และเผากรุงลงกา และชุดศึกอินทรชิตครั้งที่ 1 รวมทั้งจัดนิทรรศการ แสดง ประวัติความเป็นมา การแกะสลักตัวหนังใหญ่ และการแสดงเชิดหนังใหญ่ทุกวันเสาร์ เปิดบริการให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 17.30 น.เปิดให้ชมการแสดง
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว เป็นพิพิธภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2550 โดยความร่วมมือของวัดโขลงสุวรรณคีรี มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว และศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี ชมรมชาวไท-ยวน ราชบุรี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะในแง่การสืบทอดวัฒนธรรมไท-ยวน ที่ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียงแค่ภาษาพูดและการทอผ้าจก ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของผู้หญิงไท-ยวนเท่านั้น
สิ่งแรกที่จะต้องพบทุกครั้งเมื่อเข้ามาที่แห่งนี้ก็คือ บุรุษสูงวัยหน้าตาใจดี แต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อมท่าทางสบายๆ ที่จะออกมาต้อนรับด้วยท่าทีเป็นกันเอง ราวกับเราเป็นลูกเป็นหลานที่กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด แต่ก็ไม่ยอมเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม ปล่อยให้งงอยู่นานสองนาน เพราะทั้งพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งที่หน้าตาเหมือนท่านเต็มไปหมด จนกระทั่งเดินไปพบห้องประวัติดร.อุดม สมพร จึงได้รู้ว่าท่านคือ ผู้อำนวยการจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว และประธานสหกรณ์ไท-ยวนราชบุรี ซึ่งเป็นลูกหลานเลือดเนื้อเชื้อไขไท-ยวนคูบัว บ้านไร่ต้นมะม่วงมาแต่กำเนิด
ภายในอาคารจิปาถะภัณฑ์แบ่งห้องแสดงไว้หลายห้อง ห้องแรกจัดแสดงศิลปวัตถุโบราณสมัยทวารวดี โดยของที่นำมาจัดแสดงทั้งหมดมาจากโบราณวัตถุที่ชาวบ้านในตำบลคูบัวขุดพบในที่นาของตนเองและนำมาถวายให้วัด ส่วนห้องถัดมามีการแสดงวิถีชีวิตของชุมชนไท-ยวน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการอยู่ไฟแบบดั้งเดิม ต้องขอบอกว่าหุ่นขี้ผึ้งที่นี่ทำออกมาได้เหมือนคนจริงๆ ไม่แพ้พิพิธภัณฑ์อื่นเลย ส่วนห้องที่เหลือมีการจัดแสดงภูมิปัญญาของชาวไท-ยวน ในรูปแบบต่างๆ เช่น ข้าวของเครื่องใช้ในการทำเกษตร วิธีการทอผ้าจกและการจัดแสดงผ้าโบราณ เป็นต้น
ที่จะดูแปลกกว่าใครเพื่อนคงเป็นบริเวณห้องโถงสำหรับจัดนิทรรศการ ที่ปกติแล้วจะใช้จัดสัมมนาในหน่วยงานราชการ หรือประชุมกลุ่มย่อยๆ ของชาวบ้าน เพราะรอบๆ ห้องโถงมีตู้กระจกที่รวบรวมเอาของที่จะเรียกว่าใหม่ ก็ไม่ใหม่ ครั้นจะเรียกว่าของโบราณก็ยังพูดได้ไม่เต็มปาก เช่น เครื่องพิมพ์ดีด โทรศัพท์มือถือรุ่นกระติกน้ำ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นโปรเจคเตอร์แบบเก่า คอมพิวเตอร์แมคอินทอชแบบพกพารุ่นแรกๆ รวมไปถึงธนบัตรใบละสิบ ใบละร้อย รุ่นเก่าที่คนอายุต่ำกว่ายี่สิบไม่ค่อยจะได้เห็นกันแล้ว
“ของเหล่านี้อาจจะไม่ใหม่สำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กที่เกิดหลังจากปี 2550 ของเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นเลย ผมอยากจะทำให้ที่แห่งนี้เป็นที่เชื่อมอดีตกับอนาคตเข้าไว้ด้วยกัน ของจิปาถะทุกอย่างที่คนบริจาคมาผมก็จะมาจัดแสดงไว้ที่นี่” ดร.อุดม แจกแจงถึงสาเหตุการนำของเก่าเหล่านี้มาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งรวมไปถึงรถ TAUNUS17M รถคู่ใจของท่านที่เอามาจอดไว้ให้ชมกันด้วย
ส่วนเรื่องค่าเข้าชมนั้นไม่มีการเรียกเก็บ แต่มีกล่องรับบริจาคตั้งอยู่ตรงประตูทางเข้า ซึ่ง ดร.อุดม บอกว่า อย่าเพิ่งใส่เงินจนกว่าจะดูครบทุกห้อง ถ้าดูแล้วชอบใจอยากให้ที่แห่งนี้มีต่อไปก็ขอให้ช่วยสนับสนุน ส่วนใครที่จะไม่ใส่ก็ไม่ว่ากันเพราะตั้งใจทำให้เป็นสาธารณประโยชน์
วัดคงคาราม
วัดคงคาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี อยู่ห่างจากจังหวัด ๒๒ กิโลเมตร เป็นวัดของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ มีสิ่งที่ น่าสนใจ คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ และกุฏิเรือนไทย 9 ห้องสร้างในสมัยธนบุรี ปัจจุบันจัดให้เป็น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านรวบรวมวัตถุเก่าแก่ซึ่งเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง อายุไม่ตำกว่า 250 ปี เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ภาพสวรรค์ชั้นต่างๆ ภาพอดีตของพระพุทธเจ้า ที่ประทับบนบัลลังก์ ภาพพระพุทธประวัติและพระพุทธชาติชาดก ภาพจิตiกรรมฝาผนังฝีมือละเอียดอ่อน เหมือนถ่ายทอดจาก ต้นแบบที่มีชีวิตจริงเขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินตอนต้นนอกจากพระอุโบสถยังมีหมู่กุฏิสงฆ์ ขนาด 9 ห้องและ 7 ห้อง มีการสลัก บานหน้าต่างงดงามมาก วัดคงคารามเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ สร้างมาตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่ที่ทราบ ก็เป็นเพียงการบอกเล่าต่อกันมาว่า อาจจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือกรุงธนบุรี หรือรัตนโกสินตอนต้น
กุฎิไทย 9 ห้องสร้างในสมัยธนบุรีอายุราว 230 ปี ได้บูรณะซ่อมแซมเมื่อ 2540 ภายในมีของเก่าที่มีคุณค่ามาก ซึ่งชาวบ้านได้บริจาค รวบรวมไว้ที่วัด ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ดูแล และมีมากขนาดได้ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ไว้เพื่อการศึกษาแก่คนรุ่นหลังได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับ แหล่งวัฒนธรรมพื้นบ้าน และทางกรมศิลปากรได้มาขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2542
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2)
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้พระราชทาน ศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้ เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นสถานที่ พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดป้ายอุทยานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2522 และเปิดให้ประชาชนเข้าชมภายในอุทยานได้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง | ลานจอดรถหน้าอุทยาน ปัจจุบันมีที่ขายสินค้าพื้นเมืองและผลไม้ และอาศรมศึกษาซึ่งเป็นเรือนไทยโบราณ | |
ส่วนที่สอง | เป็นโรงละครกลางแจ้ง มีเนินลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ | |
ส่วนที่สาม | อาคารทรงไทย 5 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 4 หลัง และอาคารซ้อมโขน ละครและเก็บเครื่องดนตรีไทย 1หลัง | |
ส่วนที่สี่ | สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง | |
ส่วนที่ห้า | พื้นที่ติดแม่น้ำ มีศาลาเอนกประสงค์สำหรับนั่งพักผ่อน มีร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมือง มีเรือประพาสอุทยาน ประชาชนขึ้นชมได้ | |
ส่วนที่หก | พื้นที่ประมาณ 11 ไร่ ซึ่งจะดำเนินการจัดทำสวนและทำสวนเกษตรตามพระราชดำริในองค์ประธาน |
ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 4 หลัง จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้
หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่
ห้องชาย จัดแสดง ให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ห้องหญิง ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น
ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ
ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง
ตำแหน่งศิลาฤกษ์ แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี
อาศรมศึกษา เป็นที่อ่านหนังสือสำหรับประชาชน
โรงละครกลางแจ้ง มีเนินหลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ
สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง
เรือประพาสอุทยาน อยู่ริมแม่น้ำ ( แม่น้ำแม่กลอง ) เดินเข้าไปประมาณ 400 เมตรจากจุดจำหน่ายบัตรเข้าชม อยู่ใกล้กับศาลาเอนกประสงค์...
รายละเอียดเรือประพาสอุทยาน : สร้างด้วยไม้สักทั้งลำ เป็นเรือ 2 ชั้น ขนาดกว้าง 4.35 เมตร ยาว 19.60 เมตร กินน้ำลึก 0.07 เมตร น้ำหนัก 30 ตัน เครื่องยนต์ขนาด 120 แรงม้า ความเร็ว 6.5 น๊อต/ชั่วโมง จุผู้โดยสารได้ 80 คน ชั้นบนเป็นห้องโถง ชั้นล่างมีห้องน้ำ ห้องโถง ห้องสมุด ห้องครัว ห้องเครื่องยนต์ และมีบันไดลง 3 ทาง (ปัจจุบันเรือประพาสอุทยานอยู่บนบก)
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 4 หลัง จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้
หอกลาง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น เครื่องเบญจรงค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่
ห้องชาย จัดแสดง ให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ห้องหญิง ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น
ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ
ห้องครัวและห้องน้ำ จัดแสดงลักษณะครัวไทยมีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชามและห้องน้ำของชนชั้นกลาง
ตำแหน่งศิลาฤกษ์ แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี
อาศรมศึกษา เป็นที่อ่านหนังสือสำหรับประชาชน
โรงละครกลางแจ้ง มีเนินหลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ
สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง
เรือประพาสอุทยาน อยู่ริมแม่น้ำ ( แม่น้ำแม่กลอง ) เดินเข้าไปประมาณ 400 เมตรจากจุดจำหน่ายบัตรเข้าชม อยู่ใกล้กับศาลาเอนกประสงค์...
รายละเอียดเรือประพาสอุทยาน : สร้างด้วยไม้สักทั้งลำ เป็นเรือ 2 ชั้น ขนาดกว้าง 4.35 เมตร ยาว 19.60 เมตร กินน้ำลึก 0.07 เมตร น้ำหนัก 30 ตัน เครื่องยนต์ขนาด 120 แรงม้า ความเร็ว 6.5 น๊อต/ชั่วโมง จุผู้โดยสารได้ 80 คน ชั้นบนเป็นห้องโถง ชั้นล่างมีห้องน้ำ ห้องโถง ห้องสมุด ห้องครัว ห้องเครื่องยนต์ และมีบันไดลง 3 ทาง (ปัจจุบันเรือประพาสอุทยานอยู่บนบก)
รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยาน ร. 2
ที่ตั้ง : ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม | |
อุทยานฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00 - 18.00 น. (อัตราค่าเข้าชม เด็ก 5 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท) ส่วนพิพิธภัณฑ์เปิด เวลา 09.00 - 17.00 น. |
ค่ายบางกุ้ง
ค่ายบางกุ้ง
เดิมเป็นค่ายทหารเรือในสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โปรดเกล้าให้ชาวจีนตั้งค่าย เรียกว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" ภายในค่ายมีอุโบสถหลังเดิมจะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่
เดิมเป็นค่ายทหารเรือในสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โปรดเกล้าให้ชาวจีนตั้งค่าย เรียกว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" ภายในค่ายมีอุโบสถหลังเดิมจะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่
สถานที่ตั้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ค่ายบางกุ้ง เรียกว่า "ค่ายบางกุง้" โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไปจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่าย จึงมีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรีมาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเหลือทหารจีนขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย หลังจากนั้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้ก็ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึง พ.ศ.2510 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์
สิ่งที่น่าสนใจ
โบสถ์ปรกโพธิ์
เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพ ไทร ไกร และกร่าง มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูปอยู่ได้ ทั้งยังให้ความขรึมขลังอีกด้วย ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า "โบสถ์ปรกโพธิ์" และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ
เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพ ไทร ไกร และกร่าง มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูปอยู่ได้ ทั้งยังให้ความขรึมขลังอีกด้วย ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า "โบสถ์ปรกโพธิ์" และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ
วัดบางกุ้ง
เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน อยู่คนละฝั่งกับค่ายบางกุ้งโดยมีถนนผ่านกลาง สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ คัมภีร์โบราณ ส่วนมากจะเป็นตำรายาโบราณ และบริเวณหน้าวัดด้านที่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง จะมีปลาน้ำจืดต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า "วังมัจฉา"
เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน อยู่คนละฝั่งกับค่ายบางกุ้งโดยมีถนนผ่านกลาง สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ คัมภีร์โบราณ ส่วนมากจะเป็นตำรายาโบราณ และบริเวณหน้าวัดด้านที่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง จะมีปลาน้ำจืดต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า "วังมัจฉา"